วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บันทึก อนุทิน ครั้งที่ 16





บันทึก  อนุทิน  
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน
วันศุกร์ที่  27  กันยายน  2556  
ครั้งที่  16  เวลาเรียน  08.30 -  12.20  น.


     ในวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษา  ทำ  Mind  Mapping   เกี่ยวกับความรู้ที่ได้จากวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย............................... 




             และท้ายคาบ   อาจารย์ก็ได้แนะแนวข้อสอบให้นักเรียน




ปิดคอร์ส 






บันทึก อนุทินครั้งที่ 15




บันทึก  อนุทิน 
วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย 

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน 
วันศุกร์ที่ 20  กันยายน  2556
ครั้งที่  15  เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.


                 กิจกรรมในห้องเรียนวันนี้  อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม คิดการทำหน่วยการเรียนรู้ที่จะสอนเด็กปฐมวัยมากลุ่มละ  1  หน่วยการเรียนรู้  ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้เลือกทำ เกี่ยวกับ  หน่วยการเรียนรู้ของดอกไม้  โดยเราจะแตกแขนงออกเป็น  2  หน่วยอีก  ได้แก่  หน่วยดอกไม้อาเซียน  หน่วยดอกไม้ในวันสำคัญ  


1.  หน่วยดอกไม้อาเซียน
         ประเทศมาเลเซีย - ดอกชบา
                                                                ประเทศลาว   - ดอกจำปา
                                                                ประเทศไทย  - ดอกราชพฤกษ์
                                                                ประเทศเวียดนาม  -  ดอกบัว
                                                                ประเทศพม่า  - ดอกประดู่
                                                                ประเทศสิงคโปร์  - ดอกกล้วยไม้แวนด้า
                                                                ประเทศอินโดนีเซีย   - ดอกกล้วยไม้ราตรี ( Moon Orchid )
                                                                ประเทศบรูไน    - ดอกซิมปอร์
                                                                ประเทศกัมพูชา  - ดอกลำดวน
                                                                ประเทศฟิลิปปินส์   - ดอกพุดแก้ว

2. หน่วยดอกไม้ในวันสำคัญ
                                                                วันพ่อ - ดอกพุทธรักษา
                                                                วันแม่  - ดอกมะลิ
                                                                วันไหว้ครู - ดอกเข็ม
                                                                วันทหารผ่านศึก - ดอกป๊อปี้
                                                                วันพระ - ดอกบัว
                                                                วันวาเลนไทน์ - ดอกกุหลาบ



แผนภาพหน่วยดอกไม้ของกลุ่มดิฉัน

        หลังจากคิดหน่วยการเรียนได้แล้ว  อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มเลือกหน่อวยย่อยออกมา  1  หน่วย  เพื่อนำมาจัดทำโครงร่างแผนกานสอนให้สมบูรณ์  โดยกลุ่มของดิฉันได้เลือกทำ หน่วยดอกกุหลาบ  เราจึงคิดหน่วยแผนของเราให้ออกมาน่าสนใจ  เป็น  หน่วยดอกกุหลาบสื่อรัก


  ชื่อแผน              กุหลาบสื่อรัก
วัตถุประสงค์        เพื่อให้เด็กได้รู้ว่าดอกกุหลาบสื่อความหมายแทนความรักในวันวาเลานไทน์
สาระการเรียนรู้   การใช้ดอกกุหลาบเป็นสัญลักษณ์แสดงความรัก ที่ทุกคนยอมรับอย่างเป็นสากล

     วิธีดำเนินการ
ขั้นนำ        ให้เด็กได้รู้จักดอกกุหลาบและความหมายของดอกกุหลาบ
ขั้นสอน     คุณครูให้ดอกกุหลาบกับเด็ก  แล้วให้เด็กนำไปมอบให้กับเพื่อนที่เขารัก
ขั้นสรุป     คุณครูและเด็กสนทนาซักถามเกี่ยวกับดอกกุหลาบวันวาเลนไทน์
การประเมิน   การสังเกตเด็ก ว่าเด็กสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับดอกกุหลาบในวันวาเลนไทน์ได้หรือไม่



ภาพแผนการสอนของกลุ่มดิฉัน 



                                      

รวมภาพการทำงานของกลุ่มดิฉัน



ภาพ การออกไปนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน ของกลุ่มดิฉัน 




บันทึก อนุทิน ครั้งที่ 14





 บันทึก  อนุทิน 
วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย 


อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน 
วันศุกร์ที่ 13  กันยายน  2556
ครั้งที่  14  เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.

             ในคาบเรียนวันนี้  อาจารย์ให้นักศึกษา แบ่งกลุ่ม  กลุ่มละ  8  คน  แล้วอาจารย์ก็ได้แจกกระดาษกลุ่มละ  1 แผ่น  เพื่อให้นักศึกษาในแต่ละกลุ่มได้ระดมความคิด  เกี่ยวกับเรื่องศูนย์การเรียนรู้ กลุ่มละ  1 ศูนย์  ที่จะส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก

              โดยกลุ่มดิฉันเลือกทำศูนย์บทบาทสมมุติ  เกี่ยวกับอาชีพในฝันของเด็กๆ ที่ได้เข้ามาเล่นในศุนย์บทบาทสมมุตินี้เด็กจะได้มีการพูดคุย  ติดต่อสื่อสารกันกับเพื่อนๆ  ศูนย์บทบาทสมมุตินี้จะประกอบไปด้ว

1. มุมคุณครู  เด็กๆจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับบาทบาทสมมุติของการเป็นครู โดยเด็กจะสามารถพูดคุย                                     สื่อสารกับเพื่อนๆ ได้
2. มุมคุณหมอ   จะมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เป็นของเล่น เพื่อให้เด็กได้เล่นกับเพื่อน   ได้พูดคุยเรียนรู้                               เกี่ยวกับอุปกรณ์         ทางการแพทย์ต่างๆ
3.  มุมทหาร     จะมีอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการรบ  เช่น  ปืน  รถถังของเล่น  ให้เด็กๆ  ได้พากันเล่น
4.  มุมชาวนา    ให้เด็กได้เรียนรู้ถึงวิถ๊ชีวิตของชาวนา   และเห็นคุณค่าของ ข้าวที่เรากิน 



ผลงานของกลุ่มดิฉัน 

บันทึก อนุทินครั้งที่ 13


                                                                         
                                                                   
       บันทึก  อนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ที่ 6  กันยายน  2556  
ครั้งที่ 13 เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.


ในคาบเรียนวันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับเนื้อหา......................................


การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา

- การจัดสภาพแวดล้อมให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม
- เด็กได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาโดยไม่เน้นเนื้อหาทางภาษา

หลักการ ( หรรษา  นิลวิเชียร, 2535 )
- สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก ส่งเสริมให้เด็กสำรวจปฏิบัติจริง  เป็นผู้กระทำด้วยตนเอง  เปิด           โอกาสให้เด็กเป็นอิสระ  ได้สังเกตและตั้งสมมุติฐาน
- สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับบุคคลรอบข้าง  เด็กควรได้สื่อสารสองทาง
- สิ่งแวดล้อมที่เน้นความหมายกว่ารูปแบบ   ควรยอมรับการสื่อสารของเด็กในรูปแบบต่างๆ  โดยคำนึง        ถึงความหมายที่เด็กต้องการสื่สารมากกว่าความถูกต้องทางไวยากรณ์
-  สิ่งแวดล้อมประกอบด้วยความหลากหลายทั้งด้านวาจา และไม่ใช่วาจา  เด็กควรได้รับการมี                     ประสบการณ์และปฏิบัติหลายๆรูปแบบ

มุมประสบการณ์ที่สนับสนุนการเรียนรู้และทักษะทางภาษา

- มุมหนังสือ                      -  มุมบทบาทสมมุติ
                                               - มุมศิลปะ                          - มุมดนตรี
                                                                      ฯลฯ

         ลักษณะของการจัดมุมในชั้นเรียน พื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา

- มีพื้นที่ให้เด็กสามารถทำกิจกรรมได้ 
- เด็กรู้สึกผ่อนคลายเมื่ออยู่ในมุม
- บริเวณใกล้ๆ มีอุปกรณ์เครื่องเขียน เช่น  ดินสอ สี  กระดาา  กรรไกร  กาว
- เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผน  ออกแบบ


        มุมหนังสือ 
- มีชั้นวางหนังสือประเภทต่างๆ ที่เหมาะสมกับวัย 
- มีบรรยากาศดี  สงบ  และอบอุ่น
- มีพื้นที่ในการอ่านลำพัง  และเป็นกลุ่ม 
- มีอุปกรณ์สำหรับการเขียน



        มุมบทบาทสมมุติ
- มีสื่ออุปกรณ์ที่สามารถให้เด็กเข้าไปเล่นได้
- มีพื้นที่ ที่เพียงพอ

                                 



        มุมศิลปะ
- จัดอุปกรณ์ที่หลากหลาย  เช่น  สีเมจิก  ดินสอ  ยางลบ  ซองจดหมาย ฯลฯ
- กรรไกร  กาว   สำหรับงานตัดและปะติด




        มุมดนตรี 
- มีเครื่องดนตรีทั้งที่เป็นของเล่นและของจริง เช่น  กลอง ฉิ่ง  ระนาด  ขลุ่ย  กรับ  เครื่องเคาะจังหวะ  



     หลังจากที่เรียนเสร็จ อาจารย์ก็ได้บอกว่า  ในอนาคตที่เราจะไปเป็นครูสอนเด็กนั้น  ด้านการพูด  การเขียน  การอ่าน  เป็นสิ่งที่สำรัญแก่เด็กเป็นอย่างมาก  แล้วอาจารย์ก็ได้เปิดผลงานด้านการเขียนตัวหนังสือ  ที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย  เป็นแบบใด  
    * คุณครูจะต้องเขียนตัวหนังสือให้สวย  และต้องเขียยนเป็นตัวเหลี่ยม

                                         


         หลังจากที่ได้ดูผลงานของรุ่นพี่เสร็จอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษา  คัดลายมือ  ส่งอาจารย์  โดยต้องเขียนหัวให้กลม  และตัวต้องเหลี่ยม





ผลงานคัดลายมือของดิฉัน