วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึก อนุทินครั้งที่ 7

                                                                     

                                           บันทึก อนุทิน

                                         วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

                                                      อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
                                                         วันศุกร์ ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
                                                     ครั้ง  7    เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.




         วันนี้ อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคน เลือกวาดภาพที่ตนเองชอบมาหนึ่งภาพ  พอวาดเสร็จ อาจารย์ก็ให้ทุกคนออกไปเล่านิทานจากภาพที่ตนเองวาด  โดยการเล่านิทานในครั้งนี้  เป็นการเล่าต่อๆกันของเพื่อนในห้อง   โดยภาพที่ ฉันวาดคือ  ภาพ.................................?

ภาพ  บ้านน้อยแสนอบอุ่น 


เรื่องที่เรียนในวันนี้...............................

                              เรื่อง การประเมิน ( ภาษาเด็ก )

1.ใช้เครื่องมือในการประเมินที่หลากหลาย
2.เน้นที่ความก้าวหน้าของเด็ก
                       - บันทึกสิ่งที่เด็กทำได้
                       - ทำให้สามารถส่งเสริมเด็กให้ก้าวไปสู่พัฒนาการทางภาษาในระดับที่สูงขึ้นได้
3.ประเมินจกบริบทที่หลากหลาย
4.ให้เด็กมีโอกาสได้ประเมินตนเอง
5.ครูให้ความสนใจทั้งกระบวนการและผลงาน
6.ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล  เนื่องจากเด็กมีความแตกต่างกัน  ครูไม่ควรประเมินแค่ภาพรวม


                        ตัวอย่าง กิจกรรมเสริมทักษะทางภาษา

- การเขียนตามคำบอกของเด็ก                                     - อ่านนิทานร่วมกัน   
- อ่านคำคล้องจอง                                                        - เล่าสู่กันฟัง
- ช่วยเด็กเขียนบันทึก                                                    - เขียนประกาศเพื่อแจ้งข่าว  เตือนความจำ
- ร้องเพลง                                                                    - เขียนส่งสารถึงกัน


สอนเนื้อหาเสร็จแล้ว ท้ายคาบ อาจารย์ได้เล่านิทานให้นักศึกษาฟัง  มีสองเรื่อง คือ  
                      1. เรื่อง  สุนัขจิ้งจอก
                      2. เรื่อง  บ้านเต่าทองของคุณยาย  



ภาพนี้คือ  ภาพวาดนิทานเรื่อง บ้านเต่าทองของคุณยาย


     โดย นิทานที่อาจารย์เล่าให้ฟังทั้งสองเรื่อง เป็นนิทานประเภทวาดไปเล่าไป      ดังที่ปรากฏในภาพ ข้างต้น 



                         ต่อมาอาจารย์ก็มีเกมส์ มาให้เราเล่น  ดังภาพด้าล่าง ที่ปรากฏ โดยอาจารย์  จะมีจุดมาให้เรา 9 จุด  โดยให้นักศึกษาทุกคน ลากเส้นให้ได้ 4 เส้น  ต้องลากเส้นทั้ง 4 เส้นให้ผ่านทุกจุด  พอลองทำก็ไม่มีนักศึกษาคนไหนทำได้  อาจาย์เลยเฉลยภาพขึ้นมาให้ดู  
                       เราทุกคนจริงได้ทราบว่า  ที่พวกเราทุกคนลากเส้นไม่ได้เพราะมัวแต่คิดในกรอบ  ไม่เคยจะคิดนอกกรอบเราเลยไม่สามารถ ลากเส้น  4 เส้นผ่านจุดพวกนี้ได้ ดังนั้นคนเราควรจะมีความคิดที่แตกต่างออกมาบ้าง และควรจะมีความคิดนอกกรอบมาจากคนอื่นบ้างก็ได้  ไม่ควรปิดกั้นการเรียนรู้ของเรา ให้อยู่แต่ในกรอบเสมอไป



ภาพกิจกรรม  การคิดนอกกรอบ


วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึก อนุทิน ครั้งที่ 6


บันทึก  อนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.



เนื้อหาที่เรียนในวันนี้..... 

 1.การจัดประสบการณ์ทางภาษาที่เน้นทักษะทางภาษา

                     ( Skill Approch  )

           - ให้เด็กรู้จักส่วนย่อยๆของภาษา
           -  การประสมคำ
           -  ความหมายของคำ 
           - นำคำมาประกอบเป็นประโยค
           - การแจกลูกสะกดคำ
                             การเขียน = กู งู ดู หู     - เป็นการเขียนที่ไม่สอดล้องกับธรรมชาติการใช้ภาษาของเด็ก
                                                                 - ไม่สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
                                                                  

           Kenneth  Goodman

             - เสนอแนวทางการสอนภาษาแบบธรรมชาติ 
              - มีการเชื่อมโยงระหว่างภาษากับความคิด
             - แนวทางการสอนมีพื้นฐานมาจากการเรียนรู้และธรรมชาติของเด็ก

          ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย

                - สนใจ อยากรู้อยากเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว
                 - ช่างสงสัย ช่างซักถาม
                 - ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
                 - เลียนแบบคนรอบข้าง
                 - มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ

2.การสอนภาษาแบบธรรมชาติ ( Whole  Language )

      ทฤษฎีที่มีการสอนภาษาแบบธรรมชาติ 

            Dewey / Piaget / Vygosky / Haliday / 
       - เด็กจะเรียนรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัว
       - เด็กเรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์และการลงมือทำ
       - เด็กเรียนรู้จากกิจกรรม  การเคลื่อนไหวของตนเองและการได้สัมผัสจับต้องสิ่งของ
       - อิทธิพลของสังคมและบุคคลอื่นๆ มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก

      การสอนภาษาธรรมชาติ

        - สอนแบบบูรณาการ / องค์รวม
        - สอนในสิ่งที่เด็กสนใจและมีความหมายสำหรับเด็ก
        - สอนในสิ่งที่ใกล้ตัวเด็กและอยู่ในชีวิตประจำวัน
        - ไม่เข้มงวดกับการท่อง  สะกด
        - ไม่บังคับให้เด็กเขียน

     หลักการของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ

      1. การจัดสภาพแวดล้อม
         - ตัวหนังสือที่ปรากฎในห้องเรียนจะต้องมีเป้าหมายในการใช้จริงๆ
        - หนังสือที่ใช้  จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบรูณ์ในตัว
        - เด็กมีส่วนในการจัดสภาพแวดล้อม
     2. การสื่อสารที่มีความหมาย
       - เด็กสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริง
       - เด็กอ่านและเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมาย
       - เด็กได้ใช้เวลาในการอ่านและเขียนตามโอกาส
    3. การเป็นแบบอย่าง
      - ครูอ่านและเขียนโดยมีจุดมุ่งหมายในการใช้ให้เด็กเห็น
       - ครูเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก
   4. การตั้งความคาดหวัง
     - เด็กสามารถอ่าน  เขียนได้ดีและถูกต้องยิ่งขึ้น
     - ครูเชื่อมั่นว่าเด็กมีความสามารถในการอ่านและการเขียน
   5. การคาดคะเน
     - เด็กมีโอกาศที่จะทดลองกับภาษา
    - ไม่คาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมือนผู้ใหญ่
   6. การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
    - ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็ก
    - ตอบสนองเด็กให้เหมาะกับสถานการณ์
  7. การยอมรับนับถือ
    - ไม่ทำกิจกรรมตามลำดับขั้นตอน
    - เด็กมีความแตกต่างระหว่างบุคคล
  8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น
    - ให้เด็กรู้สึกปลอดภัยในการใช้ภาษา
    - เด็กมีความเชื่อมั่นว่าตนเองมีความสามารถ

         บทบาทของครู

        - ครูคาดหวังเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน
        - ใช้ประสบการณ์ตรงในการสนับสนุนในการอ่าน การเขียน
        - ครูควรยอมรับกับความไม่ถูกครบถ้วนของเด็ก
        - ครูควรสร้างความสนใจจในคำและสิ่งที่พิมพ์


บันทึก อนุทิน ครั้งที่ 5


บันทึก  อนุทิน

วิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย 
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ แจ่มถิน 
วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ครั้งที่  5 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.



                 วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษา วาดภาพ  สิ่งของที่ตนเองชอบ แล้วออกไปนำเสนอ  พร้อมบอกเหตุผลที่ตนเองชอบ หน้าชั้นเรียน    โดยสิ่งที่ฉันชอบ นั่นก็คือ


         ตุ๊กตา  DORAEMON



       เหตุผลที่ชอบเพราะว่ามันเป็นตุ๊กตา  ตัวแรกที่ได้มาจากการไปปาลูกโป่ง ในงานบุญที่วัด  เพราะทุกครั้งที่ไปปาลูกโป่งจะไม่เคยได้ตุ๊กตาเลย นอกจากลูกอม   และอีกอย่างที่  ชอบ  มันเป็นตุ๊กตาที่น่ารัก  อ้วนๆ  กลมๆ  น่ารักดี  นี่แหละคือเหตุผลที่ฉันชอบมัน

เนื้อหาที่เรียนในวันนี้.......

              องค์ประกอบทางด้านภาษา
1.Phonology   - คือเสียงของภาษา
                       - เสียงที่มนุษย์เปล่องออกมาเพื่อสื่อความหมาย
                       - หน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำในภาษา
2.Semetic       - คือความหมายของภาษาและคำศัพท์
                       - คำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลายความหมาย
                       - ความหมายเหมือนกันแต่ใช้้คำศัพท์ต่างกัน
3.Syntex        -  คือระบบไวยากรณ์
                       - การเรียนรูปประโยค
4.Pragmatic   -  คือระบบการนำไปใช้
                       -  ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามสถานการณ์และกาลเทศะ


                                 แนวคิดนักการศึกษา
                      1.แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม 
1.)  Skiner

               - สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา
               - ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง

2.) John B. Watson
                   - ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค

                                    นักพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า
                   - ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์
                   - การเรียนรู้ภาษาเป็นผลมาจากการปรับพฤติกรรมโดยสิ่งแวดล้อม
                   - เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา
                   - เด็กจะสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรม เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัว
                   - เมื่อเด็กได้รับแรงเสริมจำทำให้เด็กเลียนแบบ ตัวแบบมากขึ้น

                              2.นักพัฒนาด้านสติปัญญา
1.) Piaget  
    
                                   - เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
                                   - ภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก

2.) Vygosky
                                        - เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
                                        - สังคมบุคคลรอบข้าง มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
                                        - เน้นบทบาทของผู้ใหญ่ 
                                        - ผู้ใหญ่ควรช่วยชี้แนะและขยายประสบการณ์ด้านภาษาของเด็ก

                            3.แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อทางด้านร่างกาย
1.)  Arnold  Gesell
                                          - เน้นความพร้อมทางด้านร่างกายในการใช้ภาษา
                                          - ความพร้อม วุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน
                                          - เด็กบางคนอาจมีความพร้อมทางร่างกายในการใช้ภาษาได้เร็ว
                                          -  เด็กบางคนอาจมีปัญหา อวัยวะบางส่วนที่ใช้ในการสื่อสารบกพร่อง

                            4. แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่า ภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด

1.) Noam Chomsky
                                      - ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์
                                       - การเรียนรู้ภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ
                                      - มนุษย์เกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษามาตั้งแต่เกิด 

2.) O.Hobart Mowrer
                                       - คิดค้นทฤษฎีความพึงพอใจ

                                   แนวทางในการจัดประสบการณ์ของภาษา
                                       - เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
                                       - นำไปสู่การกำหนดกระบวนการที่ใช้อย่างแตกต่าง

3.) Richard and Rodger  ( 1995 )  ได้แบ่งมุมมองการจัดประสบการณ์ออกเป็น  3 กลุ่ม
               1.มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา
                            - นำองค์ประกอบย่อยของภาษามาใช้ในการสื่อความหมาย
                            - เสียงไวยากรณ์  การประกอบวลี  หรือประโยค
                2. มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา
                             - เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับสื่่อความหมาย
                              - การจัดประสบการณ์เน้นการสื่อความหมาย
                              - ไม่ได้ละทิ้งแบบแผนหรือไวยากรณ์
                 3. มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์
                              - เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม
                              - การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
                              - เด็กมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการใช้ภาษา





                     

บันทึก อนุทิน ครั้งที่ 4



บันทึก  อนุทิน  

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน 
วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.

   วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่ม  ออกไปนำเสนองานกลุ่ม  ของตัวเอง  โดยกลุ่มดิฉัน  ได้ออกไปนำเสนอเกี่ยวกับเรื่อง   พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กอายุ  4-6 ปี  โดยมีเนื้อหาดังนี้
  

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
                    เพียเจท์ (Jean Piaget) นักจิตวิทยาชาวสวิส ความคิดเห็นของเพียเจท์เกี่ยวกับพัฒนาการทางสติปัญญา คือการเรียนรู้ของเด็กเกิดจากการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ถ้าเด็กมีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากๆ ย่อมทำให้เกิดการเรียนรู้มาก
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ แบ่งได้ 4 ขั้น ดังนี้
               1.1ขั้นการใช้ประสาทสัมผัส (Sensori Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี ในขั้นนี้เด็กจะรู้จักใช้ประสาทสัมผัสทางปาก หู และตาต่อสภาพแวดล้อมรอบๆตัว

1.2) ขั้นพัฒนาความคิดรวบยอด (Pre-operational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี เป็นขั้นที่เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาพูดและเข้าใจเครื่องหมายต่างๆหรือเข้าใจสภาพแวดล้อมของสัญลักษณ์ต่างๆ                                                     1.3) ขั้นเรียนรู้รูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี ในช่วงอายุดังกล่าว เด็กจะสามารถใช้เหตุผลกับสิ่งที่แลเห็นและมองความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆได้ดีขึ้น
1.4) ขั้นสิ่งที่เป็นนามธรรม (Formal Oerational Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี  เป็นช่วงที่เด็กจะเข้าใจ และใช้เหตุผลและการทดลองได้อย่างมีระบบและเรียนรู้เกี่ยวกับนามธรรมได้
            บรูเนอร์ เกิดในเมืองนิวยอร์ค ในปี ค.ศ. 1915 เป็นนักการศึกษา และนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ซึ่งผลงานส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผลงานของเปียเจต์ บรูเนอร์มีความสนใจในเรื่องพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก บรูเนอร์มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคมที่ผู้เรียนจะต้องลงมือปฏิบัติ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองทั้งนี้โดยมีพื้นฐานอยู่บนประสบการณ์หรือความรู้เดิม ” 

                    ขั้นที่1 ขั้นการเรียนรู้ด้วยการกระทำEnactivestage (แรกเกิด – 2 ขวบ ) ในวัยนี้ เด็กจะมีการพัฒนาการทางสติปัญญา โดยใช้การกระทำเป็นการเรียนรู้ หรือเรียกว่า Enactive mode เด็กจะใช้การสัมผัส เช่น จับต้องด้วยมือ ผลัก ดึง สิ่งที่สำคัญเด็กจะต้องลงมือกระโดดด้วยตนเอง เช่น การเลียนแบบ หรือการลงมือกระทำกับวัตถุสิ่งของ ต่างกับผู้ใหญ่ ที่จะใช้ทักษะที่ซับซ้อน เช่น ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น   เป็นขั้นที่เปรียบได้กับได้กับขั้นประสาทสัมผัส และการเคลื่อนไหวของเพียเจต์ เป็นขั้นที่เด็กจะเรียนรู้ด้วยการกระทำ
( learning   by doing ) มากที่สุด

                         ขั้นที่2 ขั้นการเรียนรู้ด้วยภาพและจินตนาการ  Iconic Stage  เปรียบได้กับขั้นความคิดก่อนการเกิดการปฏิบัติการของเพียเจต์ ในวัยนี้เด็กจะเกี่ยวข้องกับความจริงมากขึ้น และเกิดความคิดจากการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ อาจมีจิตนาการบ้างแต่ยังไม่สามารถคิดได้ลึกซึ้งเหมือนขั้นปฏิบัติการคิดแบบรูปธรรมของเพียเจต์
                             ขั้นที่2 ขั้นการเรียนรู้ด้วยภาพและจินตนาการ Iconic stage ในพัฒนาทางขั้นนี้ จะเป็นการใช้ความคิด เด็กสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆ ที่เกิดจากการมองเห็น การสัมผัส โดยการนึกมโนภาพ การสร้างจินตนาการ พัฒนาการนี้จะเพิ่มขึ้นตามอายุของเด็ก ยิ่งโตขึ้นก็ยิ่งสร้างจินตนาการได้มากขึ้น การเรียนรู้ในขั้นนี้เรียกว่า Iconic mode เด็กจะสามารถเรียนรู้โดยการใช้ภาพแทนการสัมผัสของจริง บรูเนอร์ได้เสนอแนะ ให้นำโสตทัศนวัสดุมาใช้ในการสอน เช่น บัตรคำ ภาพนิ่ง เพื่อที่จะช่วยเสริมสร้างจินตนาการให้กับเด็ก
                             ขั้นที่3 ขั้นการเรียนรู้ด้วยสัญลักษณ์ Symbolic Stage  เป็นขั้นพัฒนาการสูงสุดของบูเนอร์ เปรียบได้กับขั้นปฏิบัติการคิดแบบรูปธรรมของเพียเจท์ เป็นพัฒนาการที่อาจมาจากขั้นการรับรู้ภาพและจินตนาการ เด็กจะสามารถเข้าใจความสำคัญของสิ่งของสามารถเกิดความคิดรวบยอดในสิ่งต่างๆที่ไม่ซับซ้อนได้

ในพัฒนาการทางขั้นนี้ บรูเนอร์ถือว่าเป็นการพัฒนาการขั้นสูงสุดของความรู้ความเข้าใจ เช่น การคิดเชิงเหตุผล หรือการแก้ปัญหา วิธีการเรียนรู้ขั้นนี้เรียกว่า Symbolic mode ซึ่งผู้เรียนจะใช้ในการเรียนได้เมื่อมีความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม   
เด็กอายุ ๔ ปี
พัฒนาการด้านสติปัญญา
-จำแนกสิ่งต่างๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ได้
-บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
-พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
-สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง
-สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
-รู้จักใช้คำถาม ทำไม?
เด็กอายุ ๕ ปี
พัฒนาการด้านสติปัญญา

          -บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง จำแนก และ จัดหมวดหมู่สิ่งของได้

          -บอกชื่อ นามสกุล และอายุของตนเองได้
          -พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
          -สนทนาโต้ตอบ / เล่าเป็นเรื่องราวได้
          -สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่
          -รู้จักใช้คำถาม ทำไม? อย่างไร?
          -เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
         -นับปากเปล่าได้ถึง ๒๐

อายุ  6 ปี
-    เด็กวัยนี้สามารถมองเห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งของได้
 -เด็กในวัยนี้เป็นวัยที่มีความตั้งใจทีละอย่าง หรือยังไม่มีความสามารถที่จะพิจารณา

หลาย ๆ อย่างผสม ๆ กัน
-  เด็กวัยนี้ยังคิดถึงแต่เรื่องปัจจุบัน คิดถึงแต่เรื่องที่ตนเองพัวพันอยู่ด้วย ระยะของความสนใจจะสั้น สนใจการทำกิจกรรมต่างๆ
-      เด็กจะกระตือรือร้นทำกิจกรรมที่ตนเองสนใจ แต่เมื่อหมดความสนใจจะเลิกทันที โดยไม่คำนึงว่างานจะเสร็จหรือไม่
  -    เด็กวัยนี้สามารถที่จะวาดภาพพจน์ในใจได้
   -      เด็กวัยอนุบาลเป็นวัยที่ใช้สัญลักษณ์ได้




ภาพการนำเสนอ  งานกลุ่ม 


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3



บันทึก   อนุทิน 

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน 
วันศุกร์ที่  28 มิถุนายน พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 3 เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากมีการจัดกิจกรรมรับน้องทางมหาลัย...........


ภาพกิจกรรมรับน้องของมหาลัย 





บันทึก อนุทิน ครั้งที่ 2




   บันทึก  อนุทิน 

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 21  มิถุนายน พ.ศ. 2556
 ครั้งที่  2 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


เรียนเรื่อง : ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
                               ความหมายของภาษา การสื่อความหมาย เป็นเครื่องมือในการแสดงความคิดเห็นและความรูู้สึกต่างๆภายในของมนุษย์เรา


                                ความสำคัญของภาษา
                  1.ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
                       2.ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
                       3.ภาษาเป็นเครื่องมือในการสร้างเสริมคววามเข้าใจอันดีต่อกัน
                       4.ภาษาเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ

                                 ทักษะทางภาษา  ประกอบด้วย
                       1.การฟัง    ใช้หูในการรับรู้
                       2.การอ่าน  ใช้สายตาเพื่อการรับรู้
                       3.การพูด    ใช้ปากในการสื่อสารกับบุคคลอื่น
                       4.การเขียน  เขียนสื่อถึงบุคคลอื่น

                                ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ ( Piaget )
                  การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในพัฒนาการทางด้านภาษาและสติปัญญาของเด็ก
  
                                  กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วย 2 กระบวนการ คือ
                       1.การดูดซึม ( Assimilation )  เป็นกระบวนการที่เด็กได้รู้ และดูดซึมภาพต่างๆจากสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์ของตนเอง เช่น สัตว์ที่มีปีก เด็กก็จะคิดว่าเป็นนก
                            2.การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ ( Accommodation )  เป็นกระบวนการที่เกิดควบคู่ไปกับการดูดซึม  โโยการปรับความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ  เมื่อเกิดการดูดซึมและการปรับความเข้าใจจะเกิดความสสมดุล ( Equilibrium ) กลายเป็นความคิดรวบยอดในสมอง

                          Piaget  ได้แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญา ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษา  ดังนี้
                                 1.ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส ( Sensorimotor  Stage ) แรกเกิด - 2 ปี   เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ เด็กเรียนรู้คำศัพท์จากสิ่งแวดล้อม บุคคลรอบตัว เด็กสนใจสิ่งที่อยู่รอบตัวก่อนที่จะเรียนรู้ภาษา
                                    2.ขั้นเตรียมการคิดที่มีเหตุผล (  Preoperational Stage )  
                                            2.1 อายุ 2-4 ปี ( Preconceptual  Period )  เด็กเริ่มใช้ภาษาและสัญลักษณ์ในการสื่อสารเล่นบทบาทสมมติ  การเล่าเรื่อง แสดงความรู้สึกผ่านสีหน้า บอกชื่อสิ่งต่างๆรอบตัว ภาษาของเด็กมีลักษณะยึดตนเองเป็นศุนย์กลาง  โดยจะใช้ภาษาหรือสัญลักษณ์ 
                                              2.2    อายุ 4-7 ปี  ( Intuitive  Period )  ใช้ภาษาในการสื่อสารได้ดีกับคนรอบข้างให้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นนามธรรมได้บ้างยังยึดตนเองเป็นศุนย์กลาง รู้จักสร้างมโนทัศน์โดยอาศัยการจัดกลุ่มวัตถุสามารถเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งของ
                                      3. ขั้นการคิดแบบรูปธรรม ( Concrete Operational Stage )  อายุ 7-11  ปี  เด็กสามารถแก้ปัญหาได้โดยใช้เหตุผลที่เป็นรูปธรรม
                                  4 ขั้นการคิดแบบนามธรรม ( Formal Operational Stage )  อายุ 11-15 ปี    เด็กคิดด้วยเหตุผลอย่างเป็นระบบ  ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา เข้าใจกฎเกณฑ์ของสังคม และสร้างมโนทัศน์ให้สัมพันธ์กับนามธรรม

                                         พัฒนาการภาษาของเด็ก
                        เด็กจะค่อยๆสร้างความรู้และความเเข้าใจ เป็นลำดับขั้นครูหรือผู้สอนต้องมีความเข้าใจและยอมรับ หากพบว่าเด็กใช้คำศัพท์หรือไวยากรณ์ไม่ถูกต้อง ควรมองว่านั้นเป็นการเรียนรู้ภาษาของเด็ก

                                          จิตวิทยาการเรียนรู้ 
                                   1. ความพร้อม = วัย ความสามารถ และประสบการณ์เดิมของเด็ก 
                                   2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล = อิทธิพลทางพันธุกรรม  ทางสิ่งแวดล้อม 
                                   3. การจำ = การเห็นบ่อยๆ  การทบทวนเป็นระยะ   การจัดหมวดหมู่    การใช้คำสัมผัส  
                                   4. การให้แรงเสริม = แรงเสริมทางบวก  แรงเสริมทางลบ