บันทึก อนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ แจ่มถิน
วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษา วาดภาพ สิ่งของที่ตนเองชอบ แล้วออกไปนำเสนอ พร้อมบอกเหตุผลที่ตนเองชอบ หน้าชั้นเรียน โดยสิ่งที่ฉันชอบ นั่นก็คือ
ตุ๊กตา DORAEMON
เหตุผลที่ชอบเพราะว่ามันเป็นตุ๊กตา ตัวแรกที่ได้มาจากการไปปาลูกโป่ง ในงานบุญที่วัด เพราะทุกครั้งที่ไปปาลูกโป่งจะไม่เคยได้ตุ๊กตาเลย นอกจากลูกอม และอีกอย่างที่ ชอบ มันเป็นตุ๊กตาที่น่ารัก อ้วนๆ กลมๆ น่ารักดี นี่แหละคือเหตุผลที่ฉันชอบมัน
เนื้อหาที่เรียนในวันนี้.......
1.Phonology - คือเสียงของภาษา
- เสียงที่มนุษย์เปล่องออกมาเพื่อสื่อความหมาย
- หน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำในภาษา
2.Semetic - คือความหมายของภาษาและคำศัพท์
- คำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลายความหมาย
- ความหมายเหมือนกันแต่ใช้้คำศัพท์ต่างกัน
3.Syntex - คือระบบไวยากรณ์
- การเรียนรูปประโยค
4.Pragmatic - คือระบบการนำไปใช้
- ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามสถานการณ์และกาลเทศะ
แนวคิดนักการศึกษา
1.แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม
1.) Skiner
- สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา
- ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง
2.) John B. Watson
- ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
นักพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า
- ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์
- การเรียนรู้ภาษาเป็นผลมาจากการปรับพฤติกรรมโดยสิ่งแวดล้อม
- เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา
- เด็กจะสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรม เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัว
- เมื่อเด็กได้รับแรงเสริมจำทำให้เด็กเลียนแบบ ตัวแบบมากขึ้น
2.นักพัฒนาด้านสติปัญญา
1.) Piaget
- เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
- ภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก
2.) Vygosky
- เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
- สังคมบุคคลรอบข้าง มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
- เน้นบทบาทของผู้ใหญ่
- ผู้ใหญ่ควรช่วยชี้แนะและขยายประสบการณ์ด้านภาษาของเด็ก
3.แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อทางด้านร่างกาย
1.) Arnold Gesell
- เน้นความพร้อมทางด้านร่างกายในการใช้ภาษา
- ความพร้อม วุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน
- เด็กบางคนอาจมีความพร้อมทางร่างกายในการใช้ภาษาได้เร็ว
- เด็กบางคนอาจมีปัญหา อวัยวะบางส่วนที่ใช้ในการสื่อสารบกพร่อง
4. แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่า ภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด
1.) Noam Chomsky
- ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์
- การเรียนรู้ภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ
- มนุษย์เกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษามาตั้งแต่เกิด
2.) O.Hobart Mowrer
- คิดค้นทฤษฎีความพึงพอใจ
แนวทางในการจัดประสบการณ์ของภาษา
- เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
- นำไปสู่การกำหนดกระบวนการที่ใช้อย่างแตกต่าง
3.) Richard and Rodger ( 1995 ) ได้แบ่งมุมมองการจัดประสบการณ์ออกเป็น 3 กลุ่ม
1.มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา
- นำองค์ประกอบย่อยของภาษามาใช้ในการสื่อความหมาย
- เสียงไวยากรณ์ การประกอบวลี หรือประโยค
2. มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา
- เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับสื่่อความหมาย
- การจัดประสบการณ์เน้นการสื่อความหมาย
- ไม่ได้ละทิ้งแบบแผนหรือไวยากรณ์
3. มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์
- เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม
- การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
- เด็กมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการใช้ภาษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น