วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึก อนุทิน ครั้งที่ 4



บันทึก  อนุทิน  

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน 
วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.

   วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่ม  ออกไปนำเสนองานกลุ่ม  ของตัวเอง  โดยกลุ่มดิฉัน  ได้ออกไปนำเสนอเกี่ยวกับเรื่อง   พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กอายุ  4-6 ปี  โดยมีเนื้อหาดังนี้
  

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
                    เพียเจท์ (Jean Piaget) นักจิตวิทยาชาวสวิส ความคิดเห็นของเพียเจท์เกี่ยวกับพัฒนาการทางสติปัญญา คือการเรียนรู้ของเด็กเกิดจากการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ถ้าเด็กมีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากๆ ย่อมทำให้เกิดการเรียนรู้มาก
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ แบ่งได้ 4 ขั้น ดังนี้
               1.1ขั้นการใช้ประสาทสัมผัส (Sensori Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี ในขั้นนี้เด็กจะรู้จักใช้ประสาทสัมผัสทางปาก หู และตาต่อสภาพแวดล้อมรอบๆตัว

1.2) ขั้นพัฒนาความคิดรวบยอด (Pre-operational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี เป็นขั้นที่เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาพูดและเข้าใจเครื่องหมายต่างๆหรือเข้าใจสภาพแวดล้อมของสัญลักษณ์ต่างๆ                                                     1.3) ขั้นเรียนรู้รูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี ในช่วงอายุดังกล่าว เด็กจะสามารถใช้เหตุผลกับสิ่งที่แลเห็นและมองความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆได้ดีขึ้น
1.4) ขั้นสิ่งที่เป็นนามธรรม (Formal Oerational Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี  เป็นช่วงที่เด็กจะเข้าใจ และใช้เหตุผลและการทดลองได้อย่างมีระบบและเรียนรู้เกี่ยวกับนามธรรมได้
            บรูเนอร์ เกิดในเมืองนิวยอร์ค ในปี ค.ศ. 1915 เป็นนักการศึกษา และนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ซึ่งผลงานส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผลงานของเปียเจต์ บรูเนอร์มีความสนใจในเรื่องพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก บรูเนอร์มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคมที่ผู้เรียนจะต้องลงมือปฏิบัติ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองทั้งนี้โดยมีพื้นฐานอยู่บนประสบการณ์หรือความรู้เดิม ” 

                    ขั้นที่1 ขั้นการเรียนรู้ด้วยการกระทำEnactivestage (แรกเกิด – 2 ขวบ ) ในวัยนี้ เด็กจะมีการพัฒนาการทางสติปัญญา โดยใช้การกระทำเป็นการเรียนรู้ หรือเรียกว่า Enactive mode เด็กจะใช้การสัมผัส เช่น จับต้องด้วยมือ ผลัก ดึง สิ่งที่สำคัญเด็กจะต้องลงมือกระโดดด้วยตนเอง เช่น การเลียนแบบ หรือการลงมือกระทำกับวัตถุสิ่งของ ต่างกับผู้ใหญ่ ที่จะใช้ทักษะที่ซับซ้อน เช่น ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น   เป็นขั้นที่เปรียบได้กับได้กับขั้นประสาทสัมผัส และการเคลื่อนไหวของเพียเจต์ เป็นขั้นที่เด็กจะเรียนรู้ด้วยการกระทำ
( learning   by doing ) มากที่สุด

                         ขั้นที่2 ขั้นการเรียนรู้ด้วยภาพและจินตนาการ  Iconic Stage  เปรียบได้กับขั้นความคิดก่อนการเกิดการปฏิบัติการของเพียเจต์ ในวัยนี้เด็กจะเกี่ยวข้องกับความจริงมากขึ้น และเกิดความคิดจากการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ อาจมีจิตนาการบ้างแต่ยังไม่สามารถคิดได้ลึกซึ้งเหมือนขั้นปฏิบัติการคิดแบบรูปธรรมของเพียเจต์
                             ขั้นที่2 ขั้นการเรียนรู้ด้วยภาพและจินตนาการ Iconic stage ในพัฒนาทางขั้นนี้ จะเป็นการใช้ความคิด เด็กสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆ ที่เกิดจากการมองเห็น การสัมผัส โดยการนึกมโนภาพ การสร้างจินตนาการ พัฒนาการนี้จะเพิ่มขึ้นตามอายุของเด็ก ยิ่งโตขึ้นก็ยิ่งสร้างจินตนาการได้มากขึ้น การเรียนรู้ในขั้นนี้เรียกว่า Iconic mode เด็กจะสามารถเรียนรู้โดยการใช้ภาพแทนการสัมผัสของจริง บรูเนอร์ได้เสนอแนะ ให้นำโสตทัศนวัสดุมาใช้ในการสอน เช่น บัตรคำ ภาพนิ่ง เพื่อที่จะช่วยเสริมสร้างจินตนาการให้กับเด็ก
                             ขั้นที่3 ขั้นการเรียนรู้ด้วยสัญลักษณ์ Symbolic Stage  เป็นขั้นพัฒนาการสูงสุดของบูเนอร์ เปรียบได้กับขั้นปฏิบัติการคิดแบบรูปธรรมของเพียเจท์ เป็นพัฒนาการที่อาจมาจากขั้นการรับรู้ภาพและจินตนาการ เด็กจะสามารถเข้าใจความสำคัญของสิ่งของสามารถเกิดความคิดรวบยอดในสิ่งต่างๆที่ไม่ซับซ้อนได้

ในพัฒนาการทางขั้นนี้ บรูเนอร์ถือว่าเป็นการพัฒนาการขั้นสูงสุดของความรู้ความเข้าใจ เช่น การคิดเชิงเหตุผล หรือการแก้ปัญหา วิธีการเรียนรู้ขั้นนี้เรียกว่า Symbolic mode ซึ่งผู้เรียนจะใช้ในการเรียนได้เมื่อมีความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม   
เด็กอายุ ๔ ปี
พัฒนาการด้านสติปัญญา
-จำแนกสิ่งต่างๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ได้
-บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
-พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
-สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง
-สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
-รู้จักใช้คำถาม ทำไม?
เด็กอายุ ๕ ปี
พัฒนาการด้านสติปัญญา

          -บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง จำแนก และ จัดหมวดหมู่สิ่งของได้

          -บอกชื่อ นามสกุล และอายุของตนเองได้
          -พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
          -สนทนาโต้ตอบ / เล่าเป็นเรื่องราวได้
          -สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่
          -รู้จักใช้คำถาม ทำไม? อย่างไร?
          -เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
         -นับปากเปล่าได้ถึง ๒๐

อายุ  6 ปี
-    เด็กวัยนี้สามารถมองเห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งของได้
 -เด็กในวัยนี้เป็นวัยที่มีความตั้งใจทีละอย่าง หรือยังไม่มีความสามารถที่จะพิจารณา

หลาย ๆ อย่างผสม ๆ กัน
-  เด็กวัยนี้ยังคิดถึงแต่เรื่องปัจจุบัน คิดถึงแต่เรื่องที่ตนเองพัวพันอยู่ด้วย ระยะของความสนใจจะสั้น สนใจการทำกิจกรรมต่างๆ
-      เด็กจะกระตือรือร้นทำกิจกรรมที่ตนเองสนใจ แต่เมื่อหมดความสนใจจะเลิกทันที โดยไม่คำนึงว่างานจะเสร็จหรือไม่
  -    เด็กวัยนี้สามารถที่จะวาดภาพพจน์ในใจได้
   -      เด็กวัยอนุบาลเป็นวัยที่ใช้สัญลักษณ์ได้




ภาพการนำเสนอ  งานกลุ่ม 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น