วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึก อนุทิน ครั้งที่ 6


บันทึก  อนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.



เนื้อหาที่เรียนในวันนี้..... 

 1.การจัดประสบการณ์ทางภาษาที่เน้นทักษะทางภาษา

                     ( Skill Approch  )

           - ให้เด็กรู้จักส่วนย่อยๆของภาษา
           -  การประสมคำ
           -  ความหมายของคำ 
           - นำคำมาประกอบเป็นประโยค
           - การแจกลูกสะกดคำ
                             การเขียน = กู งู ดู หู     - เป็นการเขียนที่ไม่สอดล้องกับธรรมชาติการใช้ภาษาของเด็ก
                                                                 - ไม่สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
                                                                  

           Kenneth  Goodman

             - เสนอแนวทางการสอนภาษาแบบธรรมชาติ 
              - มีการเชื่อมโยงระหว่างภาษากับความคิด
             - แนวทางการสอนมีพื้นฐานมาจากการเรียนรู้และธรรมชาติของเด็ก

          ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย

                - สนใจ อยากรู้อยากเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว
                 - ช่างสงสัย ช่างซักถาม
                 - ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
                 - เลียนแบบคนรอบข้าง
                 - มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ

2.การสอนภาษาแบบธรรมชาติ ( Whole  Language )

      ทฤษฎีที่มีการสอนภาษาแบบธรรมชาติ 

            Dewey / Piaget / Vygosky / Haliday / 
       - เด็กจะเรียนรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัว
       - เด็กเรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์และการลงมือทำ
       - เด็กเรียนรู้จากกิจกรรม  การเคลื่อนไหวของตนเองและการได้สัมผัสจับต้องสิ่งของ
       - อิทธิพลของสังคมและบุคคลอื่นๆ มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก

      การสอนภาษาธรรมชาติ

        - สอนแบบบูรณาการ / องค์รวม
        - สอนในสิ่งที่เด็กสนใจและมีความหมายสำหรับเด็ก
        - สอนในสิ่งที่ใกล้ตัวเด็กและอยู่ในชีวิตประจำวัน
        - ไม่เข้มงวดกับการท่อง  สะกด
        - ไม่บังคับให้เด็กเขียน

     หลักการของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ

      1. การจัดสภาพแวดล้อม
         - ตัวหนังสือที่ปรากฎในห้องเรียนจะต้องมีเป้าหมายในการใช้จริงๆ
        - หนังสือที่ใช้  จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบรูณ์ในตัว
        - เด็กมีส่วนในการจัดสภาพแวดล้อม
     2. การสื่อสารที่มีความหมาย
       - เด็กสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริง
       - เด็กอ่านและเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมาย
       - เด็กได้ใช้เวลาในการอ่านและเขียนตามโอกาส
    3. การเป็นแบบอย่าง
      - ครูอ่านและเขียนโดยมีจุดมุ่งหมายในการใช้ให้เด็กเห็น
       - ครูเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก
   4. การตั้งความคาดหวัง
     - เด็กสามารถอ่าน  เขียนได้ดีและถูกต้องยิ่งขึ้น
     - ครูเชื่อมั่นว่าเด็กมีความสามารถในการอ่านและการเขียน
   5. การคาดคะเน
     - เด็กมีโอกาศที่จะทดลองกับภาษา
    - ไม่คาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมือนผู้ใหญ่
   6. การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
    - ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็ก
    - ตอบสนองเด็กให้เหมาะกับสถานการณ์
  7. การยอมรับนับถือ
    - ไม่ทำกิจกรรมตามลำดับขั้นตอน
    - เด็กมีความแตกต่างระหว่างบุคคล
  8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น
    - ให้เด็กรู้สึกปลอดภัยในการใช้ภาษา
    - เด็กมีความเชื่อมั่นว่าตนเองมีความสามารถ

         บทบาทของครู

        - ครูคาดหวังเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน
        - ใช้ประสบการณ์ตรงในการสนับสนุนในการอ่าน การเขียน
        - ครูควรยอมรับกับความไม่ถูกครบถ้วนของเด็ก
        - ครูควรสร้างความสนใจจในคำและสิ่งที่พิมพ์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น